ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 3



บทที่  3
วิธีดำเนินการวิจัย

                   การวิจัยเรื่อง การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินการศึกษาตามลำดับดังนี้
                   1.  ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
                   2.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                   3.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                   4.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
                   5.  การวิเคราะห์ข้อมูล

1.              ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
                   คณะผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการวิจัย  ดังนี้
1)            ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ
2)            กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย
3)            กำหนดวัตถุประสงค์
4)            กำหนดกลุ่มประชากร
5)            สร้างเครื่องมือการวิจัย
6)            การเก็บรวบรวมข้อมูล
7)            การสรุปผลการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย

2.              ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                2.1  ประชากร  คือ   ประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน
                2.2  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ นักเรียน นักท่องเที่ยวและประชาชนบริเวณสถานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ในวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



3.              เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                    3.1  แบบสัมภาษณ์  เรื่อง การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน  7  ข้อ  สำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ
                    3.2  แบบวัดความคิดเห็น เรื่อง การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน  10  ข้อ  สำหรับนักเรียน นักท่องเที่ยว  และประชาชนบริเวณสถานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ

การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1.             การสร้างและหาคุณภาพของการวิจัยเรื่อง การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี คณะผู้วิจัยได้สร้างและหาคุณภาพตามขั้นตอนดังนี้
1.1      ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
1.1.1             ศึกษาหลักการ ทฤษฎี เทคนิค และวิธีการทำงานวิจัย
1.2      จัดทำงานวิจัยให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยครั้งนี้  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
-                   ชื่อเรื่องที่ต้องการวิจัย
-                   กิตติกรรมประกาศ
-                   บทคัดย่อ
-                   บทที่ 1  บทนำ
-                   บทที่ 2  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-                   บทที่ 3  วิธีดำเนินการวิจัย
-                   บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
-                   บทที่ 5  สรุปผล  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ
-                   ภาคผนวก
-                   บรรณานุกรม
                                    1.3   อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย เรื่องการศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และวัตถุประสงค์     ของงานวิจัยมากน้อยเพียงใดโดยมีผู้ประเมินจำนวน 1 คน

                                    1.4   คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)  ซึ่งค่าที่คำนวณได้มีค่าตั้งแต่             0.50  ขึ้นไปถือว่าใช้ได้
                                    1.5  ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์
                   2.  การสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดความคิดเห็น เรื่อง การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี  มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพตามลำดับ ดังนี้
                                    2.1  ศึกษาหลักการและเทคนิคการสร้างแบบทดสอบ
                                    2.2  วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การวิจัยเพื่อวางแผนการสร้างแบบวัด   ความคิดเห็นให้สอบคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยครั้งนี้
                                    2.3   เลือกประเภทของแบบวัดความคิดเห็นที่ต้องการวัดคือ  5 ระดับ
จำนวน  10  ข้อ
                                    2.4  เขียนแบบสอบถามตามที่วางแผนไว้
                                    2.5  ตรวจสอบคุณภาพกับอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อสอบคล้องระหว่าง  แบบวัดความคิดเห็นและวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (IOC)         โดยอาจารย์จำนวน 1 คน
                                    2.6  คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งค่าที่คำนวณได้มีค่าตั้งแต่        0.50 ขึ้นไปถือว่าใช้ได้
                                    2.7  ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์

4. วิธีการเก็บรวบรวมและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                   4.1  การเก็บรวบรวมข้อมูล 
                   คณะผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาการที่ไม่ประสงค์จะออกนามที่ได้ให้ข้อมูลบางส่วนของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จากบริษัท ไทยโซล่าร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด  อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และคุณพนมกร ชัยยั่งยืน วิทยากรผู้แนะนำและอธิบายกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ที่เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์  จังหวัดกาญจนบุรี




                   4.2  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                   นำแบบวัดความคิดเห็นที่ได้รับคืนจำนวน 50  ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100  เนื่องจากคณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ในการสอบถามและสัมภาษณ์ข้อมูลโดยตรง จึงทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นครบถ้วนสมบูรณ์เมื่อเก็บรวบรวมมาแล้วจึงนำมาจัดเรียงและนำไปวิเคราะห์ดังขั้นตอนต่อไปนี้
                           4.2.1  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ   ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าร้อยละ (percentage)  ค่าเฉลี่ย(mean)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard  deviation)  แล้วแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยเทียบกับเกณฑ์ดังนี้ (Best ,1978 อ้างถึงใน บุญชมศรีสะอาด,  2545)
                                                   4.01 – 5.00   หมายถึง   มากที่สุด
                                                   3.01 4.00   หมายถึง   มาก
                                                   2.01 3.00   หมายถึง   ปานกลาง
                                                   1.01 -  2.00   หมายถึง   น้อย
                                                   0.01 1.00   หมายถึง   น้อยที่สุด             
                           4.2.2  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากแบบวัดความคิดเห็นในส่วนที่ 2โดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content  analysis) แล้วสรุปผล             เป็นความเรียง

5.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   

                           1 .1   ค่าร้อยละ
                           1.2   ค่าคะแนนเฉลี่ย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น