ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิตติกรรมประกาศ



กิตติกรรมประกาศ

                งานวิจัยเรื่องการศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรีประสบความสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากบุคคลหลานท่าน คณะผู้วิจัย จึงขอขอบพระคุณ อาจารย์ธเนศ บริสุทธิ์ ที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการทำผลงานวิจัยมาโดยตลอด
                ขอบพระคุณคุณพ่อองอาจ จิตรีเที่ยง ผู้ปกครองของคณะผู้จัดทำที่ให้ความช่วยเหลือและสละเวลาพาคณะผู้วิจัยลงพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรี  
                ขอขอบพระคุณคุณลุงประสิทธิ์  อ้อชัยภูมิ  คุณพนมกร  ชัยยืนยง ที่เป็นวิทยากรในการให้ข้อมูลความรู้แก่คณะผู้วิจัยเกี่ยวกับไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานต่างๆ
                สุดท้ายนี้ คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ทุกๆ ท่านในการทำงานวิจัยเรื่องการศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้วิจัย


บทคัดย่อ



เรื่อง : การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนใน จังหวัดกาญจนบุรี
สำหรับ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6
ชื่อคณะผู้วิจัย :  น.ส.กมลวรรณ  อำพันทอง
                                น.ส.จันทร์จิรา  ขุนนคร
                                น.ส.ศิริวิกานต์ จันทร์พวง
                                น.ส.ไรวินท์ จิตรีเที่ยง
                                น.ส.วรรณิดา  แสงแก้ว
ปีการศึกษา : 2555


บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า             จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ   ศึกษาปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์     และพลังงานน้ำว่าปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานใดสามารถผลิตได้มากกว่ากันใน 1 วัน และศึกษา ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี      จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ
โดยมีวิธีการดำเนินการโดยลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลกระบวนการผลิต และปริมาณ       ของกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาความเห็น              ของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน          ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ

ผลการศึกษาพบว่า
1.             ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะ
นอกจากจะไม่สร้างมลพิษแล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีสีเขียวที่ไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
2.             ใน 1 วัน พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน (แบบสูบน้ำกลับ) สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
มากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แน่นอน  ด้วยเครื่องมือในการผลิตที่ใหญ่กว่า และข้อจำกัดทางการผลิตที่น้อยกว่า
3.             จากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์
จังหวัดกาญจนบุรี ปรากฏว่า ทัศนคติของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมในแต่ละด้านมีค่าความคิดเห็นคือมาก (X = 3.75) เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าความเห็นสูงที่สุด อันดับแรกได้แก่ข้อที่ 4 ท่านคิดว่า พลังงานทดแทนสามารถลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้มากหรือน้อยเพียงใด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 และอันดับที่สองคือ ข้อ 8         โดยท่าน  เห็นด้วยหรือไม่กับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากจากพลังงานทดแทน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.62  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่เริ่มเห็นถึงความสำคัญของพลังงานทดแทน เล็งเห็นถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน และตระหนักถึงผลที่จะตามมาในภายหลัง

บทที่ 1



บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย มีการใช้พลังงานเกินความจำเป็น อีกทั้งพลังงานเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้มีการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงาน รวมถึงการหาวิธีนำพลังงานทดแทนมาใช้งาน ดังนั้นการใช้พลังงานทดแทนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและเป็นก่อให้ประโยชน์สูงสุด
                พลังงานทดแทนโดยทั่วไปหมายถึง พลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถ         มีทดแทนได้อย่างไม่จำกัด พลังงานทดแทนบางประเภทเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ แรงลม น้ำ ชีวมวล และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  มีอยู่ในท้องถิ่นและนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายามความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ในการศึกษาครั้งนี้จะกล่าวถึงพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ
                  พลังงานแสงอาทิตย์ มีดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลก จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเปนสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง
                  พลังงานน้ำ บนพื้นผิวโลกมีถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำและมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มนุษย์รู้จักนำพลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น หมุนกังหันน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
                   ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนไทยในการลดใช้พลังงานไฟฟ้า เพราะพลังงานไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก อันจะส่งผลกระทบต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติ และโลกใบนี้แน่นอน เพราะฉะนั้นทุกๆคนจึงควรที่จะตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนตลอดไป



วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
      1. เพื่อศึกษารูปแบบ และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และ
พลังงานน้ำ 
       2.  เพื่อศึกษาปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำเมื่อเปรียบเทียบว่าปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานใดสามารถผลิตได้มากกว่ากันใน 1 วัน
       3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์      จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ

สมมุติฐาน
        1.  ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 
        2.  ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำนั้นไม่แตกต่างกัน
ตัวแปรต้น การศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี
                ตัวแปรตาม  ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำใน 1 วันนั้นมีปริมาณมากกว่าปริมาณของกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ 2 ด้าน ได้แก่
1.                                 ด้านพื้นที่  :  ในการศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ
2.                               ด้านวิธีบุคคล  :  ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ


นิยามศัพท์เฉพาะ
1.                 พลังงานไฟฟ้า  หมายถึง  กำลังไฟฟ้าที่ถูกใช้ไป 1 หน่วยเวลา W=Pt
2.                 พลังงานชีวมวล(Biomass Gasifier) หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ
โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ
3.                 วัฏจักรของน้ำ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่างของเหลว ของแข็งและก๊าซ
4.                 เซลล์แสงอาทิตย์ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์  สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น
ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้ให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่าโปรตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron)ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจาก แรงดึงดูดของอะตอม (Atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรง


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1            1. การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงรูปแบบ และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำในจังหวัดกาญจนบุรี
                 2.  การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงความเพียงพอของกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำต่อประชาชนในประเทศ
3               3. การศึกษาครั้งนี้เพื่อให้คนไทยมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทที่ 2



บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

พลังงาน
                สิ่งใดที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่สิ่งนั้นมีพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เพราะเราใช้พลังงานในกิจกรรมต่างๆมากมาย ใช้แสงสว่างขณะอ่านหนังสือ ใช้ความร้อนทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นการใช้พลังงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่ ถ้าปราศจากพลังงานที่ได้จากอาหาร ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้เพราะการหายใจหรือการสูบฉีดโลหิตของมนุษย์นั้นล้วนต้องอาศัยพลังงาน (รังสรรค์  ศรีสาคร.2544.พลังงานและกำลัง .พิมพ์ครั้งที่ 8 .กรุงเทพฯ :
นานมีบุ๊ค.)
การวัดพลังงาน
                หน่วยที่ใช้วัดพลังงาน คือ จูล (J) แต่จูลเป็นหน่วยที่เล็กมาก จึงนิยมใช้กิโลจูล (kJ) แทน โดยที่ 1000 J เท่ากับ 1kJ
พลังงานต่างๆ
                1. พลังงานกล  หมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ โดยประกอบไปด้วยพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 กล่าวว่า “เครื่องผ่อนแรงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ต้องการแรงที่จะขับดันให้มันทำงาน แรงนี้ได้จากพลังงานกล แรงที่มนุษย์มีอยู่แล้วได้จากกล้ามเนื้อแขน ขา ซึ่งนับว่าเป็นพลังงานกลอย่างหนึ่งเมื่อต้องทำงานมากๆ ก็ต้องเพิ่มจำนวนคนทำงาน”
                2.พลังงานคลื่น  หมายถึง พลังงานของคลื่นผิวในมหาสมุทร และการนำพลังงานเหล่านั้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้า การแยกเกลือออกจากน้ำ และการสูบน้ำ    พลังงานคลื่นเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่มีวันหมด การผลิตไฟฟ้าจากคลื่นยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่แพร่หลาย อีกทั้งยังไม่มีการสร้างฟาร์มคลื่นเชิงพาณิชย์
                3.พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ เป็นพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์  พลังงานนิวเคลียร์ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ พลังงานไฟฟ้า  พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำและพลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป
                4.พลังงานทดแทน  พลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนกันได้อย่างไม่จำกัด เช่น พลังงานน้ำ  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม  ไบโอฟิล พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง  พลังงานคลื่น  และพลังงานความร้อนใต้พิภพ  พลังงานจากกระบวนการชีวภาพ  เช่น บ่อก๊าซชีวภาพ  เป็นต้น