ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 5



                                                                          บทที่ 5
                                        สรุปการวิจัย  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 

ระบบการทำงานคือ แผง Solar รับความร้อนจากดวงอาทิตย์สะท้อนความร้อนใส่ท่อแก้ว  ไอน้ำ (reciver) สุญญากาศที่อยู่ตรงกลางแผงทำให้น้ำในท่อเดือดและวิ่งเข้าไปใน Turbine ซึ่งแผง Solar มีระบบ GPS ซึ่งมีเครื่องมีวัดความร้อนและความเข้มของแสงสามารถขยับแผงตามแสงแดดได้ในทุกๆ 1 นาทีจะมีการปรับองศาของแผงโดยไม่มีใครควบคุม ภายในห้อง control room จะมีคอมพิวเตอร์ที่คอยรายงานการทำงานของระบบตลอดเวลา  ภายในอาคาร Turbine  จะมีไอน้ำวิ่งตามท่อมาจากแผง Solar ภายในอาคารจะมีใบพัดที่คอยรับไอน้ำเพื่อปั่นใบพัดสร้างกระแสไฟฟ้า โดยจะผลิตได้ 5 เมกะวัตต์/ชั่วโมง และสามารถผลิตได้ 8-9 ชั่วโมงต่อวัน เทคโนโลยีชนิดนี้เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ 
พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน (แบบสูบน้ำกลับ)

โรงไฟฟ้าแบบนี้ถูกสร้างบนพื้นฐานความคิดในการจัดการกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน       เพราะโดยปกติการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่ค่อนดึกไปแล้วจะมีการใช้ไฟฟ้าลดลงแต่กำลัง                การผลิตไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบสูบน้ำกลับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีอ่างเก็บน้ำสองส่วนคือ อ่างเก็บน้ำส่วนบน และอ่างเก็บน้ำ น้ำจะถูกปล่อยจากอ่างเก็บน้ำส่วนบนลงมาเพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้า ดังแสดงในภาพและในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำหรือน้อยลง จะใช้ไฟฟ้าที่เหลือจ่ายให้กับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง  เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนล่างนี้กลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป

      การศึกษาเรื่อง “การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี”  คณะผู้วิจัยต้องการศึกษาเกี่ยวกับ
1.             รูปแบบ และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ
2.             ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำว่าปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานใดสามารถผลิตได้มากกว่ากันใน 1 วัน
3.             ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอยและอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ


อภิปรายผล
      การศึกษา การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในจังหวัดกาญจนบุรี  อภิปรายผลตามประเด็นที่ศึกษา ดังนี้
          1. รูปแบบ และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ
                          จากการศึกษาพบว่า ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีหลายรูปแบบเช่น แผงโซล่าร์เซลล์ พลังงานความร้อนจากไอน้ำ เป็นต้น ซึ่งสถานที่ที่คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์คือ บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งมีกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าดังนี้
                          แผงโซล่าจะทำหน้าที่รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์สะท้อนความร้อนสู่ท่อไอน้ำสูญญากาศจนทำให้น้ำในท่อเดือดแล้ววิ่งตามท่อเข้าไปในอาคาร Turbine ซึ่งจะมีใบพัดอยู่ภายในตัวอาคารเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าออกมา  จากนั้นจึงจ่ายกระแสไฟฟ้าป่านสาย line ทันที
               พลังงานไฟฟ้าแบบสูบกลับจากเขื่อน สถานที่ที่คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์คือ เขื่อนศรีนครินทร์  อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าดังนี้
               น้ำจะถูกปล่อยจากอ่างเก็บน้ำส่วนบนลงมาเพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อต้องการผลิตไฟฟ้า และในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำหรือน้อยลงนั้น จะใช้ไฟฟ้า              ที่เหลือจ่ายให้กับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนล่างนี้กลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าครั้งต่อไป
                ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

              2. ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำว่าปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานใดสามารถผลิตได้มากกว่ากันใน 1 วัน 
                          จากข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และวิทยากรจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังนี้ 
- โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละประมาณ        8-9 ชั่วโมงและใน 1ชั่วโมงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5 เมกะวัตต์ ดังนั้นใน 1 วันโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละประมาณ 40-45  เมกะวัตต์  ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงข้อจำกัดที่อาจทำให้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เช่น สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยมีฝนตก หรือแสงแดดไม่เพียงพอ เป็นต้น
- พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน (แบบสูบน้ำกลับ) ใน 1 วัน โรงไฟฟ้าที่เขื่อนศรีนครินทร์นั้น ไม่สามารถระบุได้ว่าผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากน้อยเท่าใด เพราะการจะผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นอยู่    กับการสั่งการจากอำเภอบางกรวย จังหวัดปทุมธานี อย่างไรก็ตาม เขื่อนศรีนครินทร์ย่อมผลิตได้มากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แน่นอน เพราะเขื่อนศรีนครินทร์นั้นมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าถึง 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถผลิตได้ 120-180 เมกะวัตต์
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ใน 1 วัน พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน (แบบสูบน้ำกลับ) สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แน่นอน
             3. ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอยและอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ
                3.1)  ผู้ตอบแบบประเมินครั้งนี้เป็นเพศชายจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50      เพศหญิงจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50
               3.2)  ผู้ตอบแบบประเมินครั้งนี้อยู่ในช่วงอายุ 12-20 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ  14  ช่วงอายุ 21-29 ปีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24  ช่วงอายุ 30-38 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็น  ร้อยละ20  ช่วงอายุ 39-47  ปีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26  ช่วงอายุ 48-56  ปีจำนวน 5 คน         คิดเป็นร้อยละ10  และช่วงอายุ 57-66 ปีจำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 6
               3.3)  ผู้ตอบแบบประเมินครั้งนี้อยู่ในระดับประถมศึกษาจำนวน 12 คน  คิดเป็นร้อยละ 24  มัธยมศึกษาจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 42  ปริญญาตรีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 3 ปริญญาโทจำนวน 0 คนคิดเป็นร้อยละ 0 และสูงกว่าปริญญาโทจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0
              3.4)  ผู้ตอบแบบประเมินครั้งนี้ค้าขายจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รับราชการ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14  ธุรกิจส่วนตัวจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10  และอาชีพอื่นๆ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26
              3.5)  จากตารางแสดงผลของความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ผลปรากฏว่าทัศนคติของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่มีค่าความคิดเห็นคือมาก (`X = 3.75) และในแต่ละข้อของแบบประเมินนั้นส่วนใหญ่คะแนนจะตรงตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ว่า ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 50 คน ที่มีต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำนั้นไม่แตกต่างกัน  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าความเห็นสูงที่สุด อันดับแรกได้แก่ข้อที่ 4   “ท่านคิดว่า พลังงานทดแทนสามารถลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้มากหรือน้อยเพียงใด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72  และอันดับที่สองคือข้อ 8 “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากจากพลังงานทดแทน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่  4.62  
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่เริ่มเห็นความสำคัญของพลังงานทดแทน และตระหนักถึงผลกะทบที่จะตามมาต่อสภาพแวดล้อม การเกิดสภาวะโลกร้อน เป็นต้น


ข้อเสนอแนะ
                จากการวิจัยในครั้งนี้คณะผู้วิจัย มีประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แสดงข้อเสนอแนะว่าน่าจะมีเรื่องอื่นอีกมากมายที่เกี่ยวกับพลังงาน สามารถค้นคว้าหาและความรู้เพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ  จึงขอเสนอแนะในเรื่องการวิจัยในโอกาสต่อไป ได้แก่
1. ควรศึกษาวิจัยเรื่อง “พลังงานทดแทน”   มีบทบาทสำคัญอย่างไรในอนาคต
2. ควรศึกษาวิจัยเรื่อง เทคโนโลยีสีเขียว  มีความสำคัญและความเกี่ยวข้องอย่างไรกับสังคมในปัจจุบัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น